Renaissance สีน้ำ จับคู่สี

Renaissance สีน้ำ จับคู่สี

วาดภาพสีน้ำให้น่าสนใจด้วยเทคนิคจับคู่สี

Renaissance สีน้ำ จับคู่สี

Level : Beginner
ภาพนี้ใช้สีอะไรดี ? เชื่อว่านี่จะเป็นหนึ่งคำถามยอดฮิตของมือใหม่นักวาดภาพแน่ๆ ไม่ว่าจะใช้เทคนิคสีประเภทไหน สุดท้ายแล้วการเลือกสีในการแต่งแต้มลงบนภาพผลงานนั้นค่อนข้างสำคัญ หากเลือกจับคู่สีดีช่วยดึงความน่าสนใจของภาพได้มากทีเดียว วันนี้เราจึงจะมาแนะนำวิธีการเลือกใช้สีเบื้องต้น เพื่อช่วยให้แต่ละคนมีความมั่นใจในการเลือกสีสำหรับระบายลงบนภาพผลงานให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
วงจรสี หรือทฤษฎีสีที่รู้จักกันดี เริ่มต้นจากพื้นฐานของ แม่สี 3 สี หรือสีขั้นที่ 1 คือ สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน เป็นสีที่สามารถนำมาผสมกันให้เกิดสีใหม่ได้อย่างมากมาย แต่ในขณะเดียวกันตัวแม่สีนั้น ไม่สามารถใช้สีใดผสมให้เกิดเป็นแม่สีทั้ง 3 ได้

Renaissance วงล้อสี

              มีสีขั้นที่ 1 แล้วก็ตามมาด้วยสีขั้นที่ 2 เป็นสีที่เกิดจากการผสมกันของแม่สีในอัตราส่วนเท่ากัน ทำให้เกิดสีใหม่ขึ้นอีก 3 สี คือ สีส้ม สีเขียว และสีม่วง
สีแดง + สีเหลือง = สีส้ม
สีเหลือง + สีน้ำเงิน = สีเขียว
สีน้ำเงิน + สีแดง = สีม่วง
หากดูจากในวงจรสีนั้น นอกจากสีขั้นที่ 1 และสีขั้นที่ 2 แล้ว ยังมีสีขั้นที่ 3 ที่เกิดขึ้นจากการผสมกันของสีขั้นที่ 1 และ 2 ในอัตราส่วนที่เท่ากัน ทำให้เกิดสีใหม่ขึ้นอีก 6 สี คือ ส้มแดง, ม่วงแดง, เขียวเหลือง, เขียวน้ำเงิน, ม่วงน้ำเงิน, ส้มเหลือง, เขียวน้ำเงิน, ส้มเหลือง
รู้พื้นฐานที่มาของสีแล้ว แต่จะนำไปใช้อย่างไรให้สวยงาม นั่นก็คือ หลักการเลือกใช้สีเป็นส่วนสำคัญที่สามารถนำไปปรับใช้กับทุกชิ้นงาน สำหรับหลักการเลือกใช้สีจากวงล้อสีนั้น มีอยู่ทั้งหมด 3 ข้อด้วยกัน
ข้อที่ 1 Analog Colors คือ การใช้สีที่อยู่ติดกันในวงล้อสี 2 หรือ 3 สี เช่น หากเลือกใช้สีเหลือง สีถัดไปที่ใช้สำหรับหลักการนี้ก็คือสีเหลืองอมส้ม และสีส้มซึ่งอยู่ถัดไปเป็นสีที่ 3
ข้อที่ 2 Complementary Colors คือ การใช้สีที่อยู่ตรงข้ามในวงล้อของสี เช่น สีแดงและสีน้ำเงิน
ข้อที่ 3 Triadic Colors คือ การเลือกใช้สีโดยมีรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าเข้ามาเป็นตัวช่วยเลือกสี 3 สีจากวงล้อสี เช่น หากด้านหนึ่งของสามเหลี่ยมชี้ไปที่สีน้ำเงิน ที่เหลืออีก 2 ด้านก็คือสีเหลือง และสีแดง
อธิบายครบทั้ง 3 ข้อแล้ว วันนี้เราจะมาเจาะลึกที่หลักการข้อที่ 2 Complementary Colors การจับคู่สีตรง
กันข้ามนำมาใช้ในงานศิลปะอย่างไรให้สวยงามลงตัว หลายคนอาจจะเคยได้ยินมาบ้าง ถึงการหลีกเลี่ยงการใช้งานคู่สีตรงกันข้าม เพราะเป็นสีที่มีค่าความเข้มที่ตัดกันอย่างรุนแรง ทำให้ภาพรวมของสีที่ออกมานั้นไม่สดใส แต่ใช่ว่าจะนำมาใช้ไม่ได้เลย หากเลือกใช้ให้ถูกสีที่ออกมาก็โดดเด่นดึงดูดความน่าสนใจได้มากทีเดียว เพียงเลือกใช้สีคู่ตรงกันข้ามตามนี้
แบ่งสัดส่วนการใช้สี 80 : 20 หลีกเลี่ยงการใช้สัดส่วนที่เท่ากัน
ผสมสีอื่นลงในสีตั้งต้นสีใดสีหนึ่ง หรือทั้ง 2 สี เพื่อลดความเข้มของสีลง หรือที่เรียกกันว่า “เบรกสี”
เพียงเท่านี้ คู่สีตรงกันข้ามก็สามารถอยู่ด้วยกันในภาพได้อย่างลงตัว เทคนิคสำคัญอีกอย่างที่ศิลปินใช้ในการเลือกสีให้เหมาะกับชิ้นงาน ซึ่งมีที่มาจากวงจรสีเช่นกัน นั่นก็คือ วรรณะของสี ที่ถูกแบ่งออกเป็น 2 วรรณะด้วยกัน คือ

วรรณะร้อน เป็นสีที่อยู่ทางซ้ายของวงจรสีทั้งหมด คือ ม่วงแดง, แดง, แดงส้ม, ส้ม, ส้มเหลือง, เหลือง เป็นสีที่ให้ความร้อนแรง อบอุ่น และสนุกสนาน
วรรณะเย็น เป็นสีที่อยู่ทางขวาของวงจรสีทั้งหมด คือ เหลืองเขียว, เขียว, เขียวน้ำเงิน, น้ำเงิน, น้ำเงินม่วง, ม่วง แน่นอนว่าเป็นสีที่ให้ความรู้สึกเย็นสมชื่อวรรณะ คือ สดชื่น เย็นสบายตา

สำหรับวันนี้เราจะทดลองงาน จับคู่สีตรงกันข้ามด้วยเทคนิคสีน้ำ โดยเราจะเลือกใช้การจับคู่สี ที่อยู่ใกล้เคียง
กันแบ่งวรรณะของสีร้อน และสีเย็น อุปกรณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้เลยคือ สีน้ำเรนาซองซ์ ให้สีสด เนื้อสีสวยละเอียด พิเศษวัสดุหลอดเป็นลามิเนตมีความยืดหยุ่นและแข็งแรง ไม่รั่วซึม ใช้คู่กับกระดาษวาดเขียนสีน้ำ เรนาซองซ์ 200 แกรม รองรับงานสีน้ำคุณภาพเกรดอาร์ตติส และอุปกรณ์สำคัญอีกอย่างสำหรับเทคนิคสีน้ำที่ขาดไม่ได้เลย คือ พู่กันสีน้ำชนิดกลมเรนาซองซ์ รองรับการอุ้มน้ำได้ดี ขนแปรงอ่อนนุ่มสปริงตัวดี อุปกรณ์ครบแล้วคงอยากจะลงมือระบายสีน้ำกันแล้ว ไปชมคลิปกันเลยดีกว่า

อุปกรณ์
1.สีน้ำเรนาซองซ์
2.กระดาษวาดเขียนสีน้ำ เรนาซองซ์ ชนิดผิวหยาบ หนา 200 แกรม
3.ดินสอวาดเขียน เรนาซองซ์ HB
4.ยางลบ
5.พู่กันสีน้ำชนิดกลม เรนาซองซ์ เบอร์ 6,8,12
6.จานสี

Renaissance สีน้ำ จับคู่สี

คลิกสั่งซื้อชุดอุปกรณ์สีน้ำออนไลน์ พร้อมเช็คโปรโมชั่นพิเศษ ได้ที่ Stationerymine

Shop now
Renaissance สีน้ำ จับคู่สี

Step 1
ร่างภาพแบบด้วยดินสอวาดเขียน เรนาซองซ์ HB สำหรับงานชิ้นนี้ เพื่อให้ได้ทดลองจับคู่สีวรรณะร้อน และวรรณะเย็นอย่างชัดเจน ให้วาดแบบที่แตกต่างกัน 2 ภาพ

Renaissance สีน้ำ จับคู่สี

Step 2
ลงสีพื้นอ่อนๆในส่วนที่เป็นพื้นสีหลักของภาพตาม โดยใช้เทคนิคเปียกบนแห้ง เป็นการใช้พู่กันระบายสีน้ำที่ผสมน้ำในปริมาณมากลงบนกระดาษวาดภาพที่แห้งสนิทไม่ผ่านการใช้พู่กันลงน้ำมาก่อน
สำหรับชิ้นงานนี้ภาพหญิงสาวทางซ้ายมือเป็นการจับคู่สีแบบโทนเย็น ที่อยู่ใกล้เคียงกัน (Analogous colors) เลือกใช้สีน้ำเรนาซองซ์ สีเขียว Viridian Hue และ น้ำเงิน Ultramarine ส่วนหญิงสาวทางขวามือ เป็นการจับคู่สีแบบโทนร้อน (Analogous colors) ที่อยู่ใกล้เคียงกัน เลือกใช้สีน้ำ สีเหลือง Medium Yellow และสีส้มแดง Brilliant Red

Renaissance สีน้ำ จับคู่สี

Step 3
ระบายสีน้ำเติมรายละเอียดของภาพ โดยใช้น้ำหนักสีที่เข้มขึ้นอีกหนึ่งระดับ ในขั้นตอนนี้เราจะค่อย ๆ ผสมเพิ่มคู่สีที่กำหนดไว้เข้าไปทีละน้อย โดยสร้างเงา และเว้นพื้นที่แสงขาวไว้สำหรับทางแสงที่สว่างสุด

Renaissance สีน้ำ จับคู่สี

Step 4

เก็บรายละเอียดของภาพ โดยลงสีเน้นเงา ค่อยๆเพิ่มสีให้มีความเข้มที่มากขึ้น เติมความคมชัดของใบหน้า ดวงตา สีเงาของเสื้อผ้า เก็บรายละเอียดรอยยับ รอยพับ รอยจีบของผ้า ถัดมาเป็นส่วนของทรงผมวาดปอยเส้นผมที่ลงมากปรกหน้าเล็กน้อย เพื่อให้ภาพที่ดูสมจริงมากที่สุด

Renaissance สีน้ำ จับคู่สี

Step 5

เก็บรายละเอียดและเพิ่มสีน้ำให้มีความฟุ้งกระจายเพื่อความสวยงามที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นของภาพ ด้วยการลงเทคนิคสีเปียกบนเปียก ซึ่งแตกต่างจากในขั้นตอนที่ 1 สำหรับงานสีน้ำที่ต้องการความฟุ้งกระจายของสีนั้น เทคนิคเปียกบนเปียกเป็นเทคนิคเหมาะสมที่สุด เพราะสีน้ำจะกระจายตัวได้ดีบนกระดาษที่ชุ่มน้ำ ทำให้สีมีความฟุ้งกระจาย ทำให้ภาพมีมิติระยะมากขึ้น

จากการทดลองจับคู่สี เชื่อว่าหลายคนเริ่มเห็นหลักในการเลือกใช้สีมากขึ้น
และอยากให้ลองนำไปปรับใช้กับชิ้นงานของตัวเอง
การเลือกใช้สี การผสมสีเป็นเรื่องสนุก และจะสนุกมากขึ้นอีกเมื่อสิ่งที่เลือกมาใช้นั้นช่วยเสริมให้ชิ้นงานโดดเด่นยิ่งขึ้น

Renaissance สีน้ำ จับคู่สี

คลิกสั่งซื้อชุดอุปกรณ์สีน้ำออนไลน์ พร้อมเช็คโปรโมชั่นพิเศษ ได้ที่ Stationerymine

Shop now